"อตฺตานํ ทมยนฺติ ปณฺฑิตา"
เป็นพระพุทธรูปปางประทานพร หน้าตักกว้าง 49 นิ้ว โรงเรียนได้ขอพระราชทานนามนี้จากสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆปรินายก และได้นิมนต์เกจิอาจารย์ มาทำพิธีพุทธาภิเษก ณ วัดมงคลนิมิตร (วัดกลาง) เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 โดยคุณลือชัย ขอพันเลิศ เป็นผู้บริจาคเงินเป็นจำนวน 42,000 บาท สร้างพระพุทธรูป เนื่องในวโรกาสครบรอบ 100 ปี ภูเก็ตวิทยาลัย เพื่อเป็นที่ระลึกเป็นที่เคารพสักการะ และเป็นศูนย์รวมจิตใจของศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบัน ประดิษฐ์ฐานอยู่ภายในวิหาร 100 ปี ภูเก็ตวิทยาลัย ซึ่งเป็นศาลาทรงไทย คู่กับรูปหล่อจำลอง ขนาดเท่าองค์จริงของหลวงพ่อ 2 องค์ คือ "พระครูวิสุทธิวงศาจารย์ญาณมุนีสังฆปาโมกข์" (หลวงพ่อแช่ม) อดีตเจ้าอาวาสวัดไชยธาราราม (วัดฉลอง) และ "พระวิสุทธิวงศาจารย์ญาณมุนี สังฆปาโมกข์" (หลวงพ่อเพรา พุทฺธสโร) อดีตอาจารย์ใหญ่คนแรกของโรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย |
---|
พระพุทธรูปประจำโรงเรียน |
พระพุทธพรภูเก็ตวิทยาลัยประทาน |
---|---|
ดอกไม้ประจำโรงเรียน |
ดอกชงโค |
คติพจน์ประจำโรงเรียน |
อตฺตานํ ทมยนฺติ ปณฺฑิตา บัณฑิตย่อมฝึกตน |
สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน |
|
เอกลักษณ์ |
ต้นแบบนักเรียนเก่ง โรงเรียนดี ภาคีเครือข่ายเข้มแข็ง |
อัตลักษณ์
ฉลาด (Smartness) แจ่มใส (Smile) จิตใจงาม (Spirit)
ฉลาด (Smartness) หมายถึง ความฉลาดด้าน
วิชาการ : โดดเด่นด้านวิชาการ สามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้ 100 เปอร์เซ็นต์ มี
ศักยภาพในการแข่งขัน สร้างชื่อเสียงสู่ตนเอง และสังคม
กิจกรรม ศิลปะ ดนตรี กีฬา : สามารถนำความรู้ ความสามารถด้าน ศิลปะ ดนตรี กีฬา
และวัฒนธรรมไปเผยแพร่สู่สังคมได้
คุณธรรมจริยธรรม : เป็นคนดีมีคุณธรรม สามารถนำความรู้ที่ได้จากการฝึกฝนให้เป็นคนดี
ไปสู่สังคมสร้างสรรค์สังคมให้เจริญรุ่งเรืองได้
ความคิด : เป็นบุคคลแห่งการคิดอย่างสร้างสรรค์ คิดอย่างพอเพียง รู้จักประหยัดและเก็บออม คิดอย่างมีเหตุผลเพื่อนำสังคมให้เจริญรุ่งเรืองสู่สากลได้
แจ่มใส (Smile) หมายถึง เป็นนักเรียนที่น่ารัก สุภาพอ่อนน้อม มีสัมมาคารวะ รักพวกพ้อง
มีจิตใจที่ดีงาม และเป็นมิตรกับทุกคน
จิตใจงาม (Spirit) หมายถึง เป็นนักเรียนที่มีเมตตากรุณา เอื้ออาทร เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ โอบอ้อมอารี รู้รัก สามัคคี มีจิตอาสา ชอบช่วยเหลือสังคม เห็นประโยชน์ ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน และรุ่นน้องให้ความเคารพรุ่นพี่
ข้อมูลจำเพาะของโรงเรียน
ชื่อโรงเรียน | โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย Phuketwittayalai School |
อักษรย่อ | ภ.ว. |
ที่ตั้งปัจจุบัน | 73/3 ถนนเทพกระษัตรี ตำบลตลาดใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต 83000 |
มีเนื้อที่ | 23 ไร่ 1 งาน 50 ตารางวา |
ทิศเหนือ | จดถนนนคร |
ทิศตะวันออก | จดถนนเทพกระษัตรี |
ทิศใต้ | จดถนนชุมพร |
ทิศตะวันตก | จดสถานีตำรวจภูธร จังหวัดภูเก็ต |
โทรศัพท์ | 076212075 |
โทรสาร | 076213922 |
ชื่อเว็บไซต์ | https://www.pkw.ac.th |
[email protected] | |
สีประจำโรงเรียน | สีฟ้า - สีขาว |
สีฟ้า หมายถึง ความสงบ ร่มเย็น สดใส และสวยงาม | |
สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์ สว่าง รุ่งโรจน์ ความมีระเบียบแบบแผนมีความเชื่อมั่นและมีคุณธรรมภายในรั้วฟ้า - ขาวที่อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข มีความบริสุทธิ์ |
ประวัติความเป็นมาของโรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย
ปี พ.ศ. 2442 |
ในสมัยพระยาวรสิทธิ์ เสรีวัตร มารับตำแหน่งข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต จึงได้ตั้งชื่อโรงเรียนนี้ว่า “โรงเรียนวรสิทธิ์ วัดมงคลนิมิตร” จัดการศึกษาในระดับประถมสำหรับนักเรียนชาย แต่มีนักเรียนหญิงที่สนใจเรียนอยู่ด้วย |
ปี พ.ศ. 2452 |
พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี เป็นข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ตและหลวง อุปการศิลปเสริฐ (อั๋น ชัชกุล) เป็นธรรมการมณฑลภูเก็ต มีบรรดาข้าราชการ พ่อค้า และประชาชนทั่วไป บริจาคเงินเพื่อบำรุงการศึกษา จึงได้สร้างโรงเรียน 2 โรงเรียน คือ โรงเรียนปลูกปัญญา อยู่ในวัดมงคลนิมิตร สอนในระดับประถมศึกษา สำหรับนักเรียนหญิงและชายรุ่นเล็ก และโรงเรียนตัวอย่างมณฑลภูเก็ต (ตั้งอยู่ในบริเวณ โรงเรียนสตรีภูเก็ตปัจจุบัน) สอนนักเรียนชายในระดับประถม และมัธยมสอนชั้นสูงสุดเพียงมัธยมปีที่ 5 เท่านั้น มีนายชุ่ม ชินเตมีย์ ดำรงตำแหน่งครูใหญ่ ต่อมาได้รับบรรดาศักดิ์เป็น พระประมูลวิชาเพิ่ม |
ปี พ.ศ. 2456 |
ได้เปิดสอนนักเรียนชั้นฝึกหัดครู รับนักเรียนในจังหวัดต่าง ๆ ในมณฑลภูเก็ต |
ปี พ.ศ. 2460 |
เปลี่ยนชื่อจาก “โรงเรียนตัวอย่างมณฑลภูเก็ต” มาเป็น “โรงเรียนประจำ มณฑลภูเก็ต ภูเก็ตวิทยาลัย” มีหลวงโหรกิตยานุพันธ์ (อี่ โหตรกิตย์) เป็นครูใหญ่ |
ปี พ.ศ. 2476
|
เปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนประจำจังหวัด ภูเก็ตวิทยาลัย” |
ปี พ.ศ. 2477 |
ม.ล.ตุ้ย ชุมสาย มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่ โรงเรียนได้รับการพัฒนาอย่างมาก ท่านได้ขยายการศึกษาถึงชั้นมัธยมปลาย (ม.7, ม.8) หรือชั้นอุดมศึกษา เป็นครั้งแรก เปิดรับนักเรียนหญิงที่จบชั้น ม.6 จากโรงเรียนสตรีมาเรียนในระดับมัธยมปลาย นับเป็นโรงเรียนสหศึกษาระดับมัธยมปลายเป็นสมัยแรก นอกจากนั้นท่านยังเป็นต้นคิดใช้ข้อทดสอบแบบปรนัย นับเป็นสถาบันแรกในประเทศไทยที่ใช้ข้อสอบแบบปรนัย มีการจัดสอนภาษาจีนเป็นภาษาต่างประเทศ ภาษาที่สองควบคู่กับภาษาอังกฤษ |
ปี พ.ศ. 2480 |
อาคารเรียนเดิมทรุดโทรม จนไม่อาจซ่อมแซมได้ กระทรวงศึกษาธิการให้งบประมาณ |
ปี พ.ศ. 2485 |
ดร.สาโรช บัวศรี ศิษย์เก่าของโรงเรียนได้มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่ ได้ดำเนินการพัฒนาโรงเรียนจนมีชื่อเสียง มีนักเรียนเพิ่มมากขึ้น เปิดสอนตั้งแต่ ม.1 - ม.6 ตามแผนการศึกษาชาติ พ.ศ. 2479 |
ปี พ.ศ. 2497 |
เปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย” ตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ จนถึงปัจจุบัน |
ปี พ.ศ. 2498 |
ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนหลังที่สอง จำนวน 289,000 บาท เป็นอาคาร 2 ชั้น 12 ห้องเรียน ชั้นบนเป็นไม้ ชั้นล่างก่ออิฐถือปูน หลังคามุงกระเบื้อง (ปัจจุบันรื้อแล้ว) |
ปี พ.ศ. 2500 |
ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคาร 3 จำนวน 1,500,000 บาท และขุนเลิศโภคารักษ์ ได้บริจาคเงิน 45,000 บาท สร้างอาคารห้องสมุด “เลิศโภคารักษ์” เป็นอาคารเอกเทศ ต่อมาใช้เป็นอาคารพยาบาล ปัจจุบันรื้อถอนอาคาร |
ปี พ.ศ. 2502 |
ได้รับการปรับปรุงตามโครงการพัฒนาการศึกษา (คพศ.) |
ปี พ.ศ. 2510 |
ได้รับการปรับปรุงตามโครงการพัฒนาโรงเรียนในชนบท (คมช.) |
ปี พ.ศ. 2513 |
ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคาร 4 เป็นจำนวนเงิน 2,000,000 บาท |
ปี พ.ศ. 2514 |
ได้มีการก่อสร้างโรงอาหาร-หอประชุม และอาคารอุตสาหกรรม (ช่างไม้-ก่อสร้าง) |
ปี พ.ศ. 2516 |
ได้รับงบประมาณสร้างอาคารอุตสาหกรรมศิลป์ เป็นเงิน 240,000 บาท |
ปี พ.ศ. 2518 |
ได้รับการปรับปรุงตามโครงการพัฒนาโรงเรียนในส่วนภูมิภาค กลุ่มที่ 2 (คมภ 2) |
ปี พ.ศ. 2522 |
ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคาร 5 เป็นตึก 4 ชั้น และโรงฝึกงานเป็นตึก 2 ชั้น |
ปี พ.ศ. 2523 |
ได้รับมอบหมายให้เป็นศูนย์บริการการศึกษาของ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
ปี พ.ศ. 2526 |
รื้ออาคาร 1 ที่สร้างในปี พ.ศ. 2480 |
ปี พ.ศ. 2528 |
โรงเรียนได้รับการคัดเลือกจากกระทรวงศึกษาธิการ รับรางวัลพระราชทาน โรงเรียนขนาดใหญ่ |
ปี พ.ศ. 2529 |
รื้ออาคาร 2 ที่สร้างเมื่อปี 2498 แล้วสร้างอาคาร 1 ด้วยงบประมาณ 6,350,000 บาท |
ปี พ.ศ. 2534 |
ก่อสร้างอาคารโรงอาหารและหอประชุม ด้วยวงเงินงบประมาณ 5,713,000 บาท |
ปี พ.ศ. 2537 |
กรมสามัญศึกษาคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนในโครงการส่งเสริมความสามารถด้านคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ของเขตการศึกษา 4 |
ปี พ.ศ. 2538 |
ได้รับการคัดเลือกเป็นโรงเรียนนำร่องโครงการอินเตอร์เน็ตมัธยม และได้รับการ คัดเลือกเป็นโรงเรียนสถานีรับสัญญาณดาวเทียม "โครงการการศึกษาสายสามัญด้วยระบบทางไกลผ่านดาวเทียม" |
ปี พ.ศ. 2539 |
ได้รับการคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนในโครงการผลิตครูที่มีความสามารถด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ |
ปี พ.ศ. 2539 |
ได้รับเลือกเข้าโครงการ School Net สามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตกับ NECTEC |
ปี พ.ศ. 2541 |
เข้าร่วมโครงการโรงเรียนสีขาว |
ปี พ.ศ. 2542 |
รื้อโรงอาหาร-หอประชุม แบบ 002/12 ที่สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2514 |
ปี พ.ศ. 2542 |
ได้รับงบประมาณจาก อบจ. จำนวน 7,390,000 บาท และงบจากสมาคมนักเรียนเก่าภูเก็ตวิทยาลัย จำนวน 3,936,618 บาท รวมทั้งสิ้น จำนวนเงิน 11,326,618 บาท สร้างหอสมุด 100 ปีโรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย |
ปี พ.ศ. 2543 |
ได้รับงบประมาณจากกรมสามัญศึกษา จำนวนเงิน 16,480,000 บาท ก่อสร้างอาคาร 6 แบบ 324ล/41 (หลังคาทรงไทย) |
ปี พ.ศ. 2543 |
ได้รับคัดเลือกเข้าโครงการส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและพัฒนามาตรฐานวิทยา- ศาสตร์ คณิตศาสตร์ศึกษา จังหวัดภูเก็ต ( สอวน.ปจว. ) |
ปี พ.ศ. 2545 |
ได้รับคัดเลือกเข้าโครงการโรงเรียนแกนนำการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ระดับมัธยมศึกษาของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) |
ปี พ.ศ. 2545 |
ได้รับคัดเลือกเป็นศูนย์โรงเรียนโครงการส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและพัฒนา |
ปี พ.ศ. 2546 |
ได้รับคัดเลือกเข้าโครงการโรงเรียนเครือข่ายพัฒนาหลักสูตรเพื่อการปฏิรูปการเรียนรู้ |
ปี พ.ศ. 2547 |
ได้รับคัดเลือกจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาภูเก็ตเป็นสถานที่อบรมทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ พื่อการเรียนการสอน |
ปี พ.ศ. 2547 |
ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต จำนวนเงิน 1,108,500 บาท เพื่อจัดซื้อครุภัณฑ์ห้องศูนย์วิทยบริการ และครุภัณฑ์ห้องปฏิบัติการสื่อการเรียนการสอนและแหล่งเรียนรู้ |
ปี พ.ศ. 2548 |
ได้รับคัดเลือกเป็นศูนย์ฝึกอบรมครู ด้านการใช้ ICT ในการพัฒนาการเรียนรู้ของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) |
ปี พ.ศ. 2548 |
ได้รับคัดเลือกให้เป็นเครือข่ายสถาบันพัฒนาผู้บริหารการศึกษา |
ปี พ.ศ. 2549 |
ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากคุณโชติกา โกยสมบูรณ์ สร้างอาคาร 2 ชั้น เพื่อเป็นห้องเรียนและห้องพยาบาล ชื่อ “อาคารลิก้อ” |
ปี พ.ศ. 2552 |
ได้รับคัดเลือกจากสำนักงานส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาจีนนานาชาติ สาธารณรัฐประชาชนจีน (HANBAN) ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานให้จัดตั้งห้องเรียนขงจื่อ |
ปี พ.ศ. 2552 |
ได้รับการสนับสนุนงบประมาณ สร้างห้อง NGN e- learning classroom ภายใต้โครงการดำเนินการทดลองศึกษาและประเมินผลการปรับเปลี่ยนจากโครงข่ายดั้งเดิม เป็นโครงข่ายไอพีในจังหวัดภูเก็ต ของสำนักงาน กทช. |
ปี พ.ศ. 2552 |
ได้รับการจัดตั้งเป็นศูนย์พัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนภาษาฝรั่งเศส เขตภาคใต้ตอนบน |
ปี พ.ศ. 2553 |
ได้รับคัดเลือกให้เป็นสถานที่จัดงานแสดงผลงานโรงเรียน ครู และนักเรียน |
ปี พ.ศ. 2553 |
โรงเรียนได้รับการคัดเลือกจากกระทรวงศึกษาธิการ รับรางวัลพระราชทาน |
ปี พ.ศ. 2554 |
โรงเรียนได้รับงบประมาณปรับปรุงอาคารหอประชุมและอาคาร 6 จำนวนเงิน 7,511,215.70 บาท |
ปี พ.ศ. 2554 |
ได้รับงบประมาณ และเงินสนับสนุนจากสมาคมผู้ปกครองและครู โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัยเพื่อสร้างห้องเรียนวิทยาศาสตร์ จำนวนเงิน 1,450,000.00 บาท |
ปี พ.ศ. 2555 |
ปรับปรุงอาคารอุตสาหกรรมเป็นอาคารศูนย์เพื่อนใจวัยรุ่น To be Number One |
ปี พ.ศ. 2555 |
ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ทรงเสด็จเปิด |
ปี พ.ศ. 2555 |
ได้รับเงินสนับสนุนสร้างลานเอนกประสงค์ด้านหน้าหอสมุด 100 ปี ชื่อ “ลานหงษ์หยกอนุสรณ์” สะพานข้ามเขื่อนหน้าโรงเรียนด้านถนนเทพกระษัตรี ชื่อ “สะพานขุนโลหะ-เพ็ญแข พรรคพิบูลย์” และ หลังคาคลุมระหว่างอาคาร 2 และอาคาร 5 ชื่อ “ลานนันทินี เกิดวงศ์บัณฑิต” |
ปี พ.ศ. 2556 |
ได้เข้ารับการประเมินสถานศึกษาแบบอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และการบริหาร จัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) 2554 - 2556 |
ปี พ.ศ. 2556 |
ได้เปิดแผนการเรียนห้องเรียนพิเศษการเรียนการสอนตามหลักสูตร กระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ (Mini English Program “MEP”) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 4 |
ปี พ.ศ. 2557 |
ได้รับโล่เชิดชูเกียรติ รางวัล MOE AWARDS ปีการศึกษา 2557 ระดับดีเด่น ประเภทสถานศึกษา สาขาเทิดทูนสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ จากกระทรวงศึกษาธิการ |
ปี พ.ศ. 2557 |
ได้รับรางวัลเสมา ป.ป.ส. ระดับดีเด่น โครงการสถานศึกษาป้องกันยาเสพติดดีเด่น ประจำปี 2557 จากกระทรวงศึกษาธิการ |
ปี พ.ศ. 2558 |
โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย ได้ผ่านการประเมินรางวัลคุณภาพระดับองค์กร (School Quality Awards : SCQA) ซึ่งแสดงถึงการบริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพ ของโรงเรียนมาตรฐานสากล ประจำปีพุทธศักราช 2557-2559 จากสำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน |
ปี พ.ศ. 2559 |
ได้รับรางวัลสถานศึกษาพอเพียงที่มีผลงานการปฏิบัติที่เป็นเลิศ ระดับประเทศ ปีการศึกษา 2559 จากมูลนิธิยุวสถิรคุณ |
ปี พ.ศ. 2560 |
ได้เปิดแผนการเรียนห้องเรียนพิเศษโครงการส่งเสริมศักยภาพนักเรียนด้าน |
ปี พ.ศ. 2560 |
ได้รับรางวัลรับรางวัลทรงคุณค่า สพฐ. (OBEC AWARDS) ระดับชาติ สถานศึกษายอดเยี่ยมด้านวิชาการ ประเภทสถานศึกษาประเภทขนาดใหญ่ |
ปี พ.ศ. 2560 |
ก่อสร้างอาคารเรียน 3 |
ปี พ.ศ. 2561 |
ได้รับการรับรองและประกาศผลโรงเรียนในโครงการยกระดับคุณภาพสู่ มาตรฐานสากลรางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBECQA) ปีการศึกษา 2559-2560 |